ความสูญเปล่าในโรงงาน 8 ประการ ในโรงงานอุตสาหกรรม มักจะมีการสูญเปล่าด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ความสูญเปล่าจากการผลิตของเสีย (Defects) ให้พิจารณาว่ามีจำนวนมากหรือไม่ เมื่อเก็บสถิติแล้วเพิ่มขึ้นหรือไม่ 2. ความสูญเปล่าจากการผลิตเกินความต้องการ (Over production) เกิดจากการเก็บสต๊อกมากเกินไป ซึ่งต้องพิจารณาความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก 3. ความสูญเปล่าจากการรอคอย / ความล่าช้า (Waiting time / delay) เช่น เครื่องจักรเสีย ทำให้พนักงานว่างงาน 4. ความสูญเปล่าจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป (Excessive Inventory) สั่งวัสดุปริมาณมากแต่มีการใช้น้อย ดั้งนั้นการสั่งซื้อต้องมีเหตุผลในการสั่งและประหยัด ต้องสั่งตามจำนวน 5. ความสูญเปล่าจากการขนย้ายที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Transport) จึงควรมีวิธีการขนย้ายที่เหมาะสมและถูกวิธีหรือไม่ ต้องมีวิธีการที่ดีและจำเป็นต้องขนย้าย 6. ความสูญเปล่าจากกระบวนการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพ (Ineffective Process) โรงงานใหม่ที่ตั้งมาแล้ว มีการลงทุนสูงกว่า เขาสามารถพัฒนาขีดความสามารถทุกเรื่องให้ดีกว่าโรงงานเก่าๆ นักลงทุนใหม่จึงเกิดขึ้นมาเรื่อยๆพร้อมคู่แข่งของโรงงานเก่า 7. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessary motion or action) ความเคลื่อนไหวต่างๆมีส่วนช่วยให้เกิดความเมื่อยล้า ผลผลิตต่ำ จึงเกิดเทคนิคใหม่เรียกว่า Work Study เช่น การออกแบบโต๊ะทำงาน การจัดวางของ ที่ให้ออกแบบสะดวกสบายต่อการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มผลผลิตได้ 8.
ความสูญเปล่าจากการผลิตและใช้พลังงาน (Energy
Wastes) หลักการลดและควบคุมต้นทุนการผลิต ในการดำเนินการลดและควบคุมต้นทุนการผลิตนั้น มีหลักการดังนี้ 1. จัดตั้งคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ต้องมีคณะกรรมการในการทำงานทุกอย่าง 2. รณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกและให้การศึกษาอบรมแก่พนักงานทุกระดับ หลังการทำงานต้องปิดไฟ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง 3. จัดทำโครงการ/แผนการลดและควบคุมต้นทุนการผลิต พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาดำเนินการอย่างชัดเจน เช่น แผนงานลดต้นทุนการใช้พลังงานและมีการกำหนดเป้าหมายด้วย ว่าจะลงจำนวนเท่าไร 4.
มีกระบวนการควบคุมที่สมบูรณ์
เพื่อตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน แนวคิดในการลดและควบคุมต้นทุนการผลิต สำหรับแนวคิดในการลดและควบคุมต้นทุนการผลิตนั้น จะต้องยึดหลักการคือ 1. ศึกษาวิเคราะห์และสำรวจสถานภาพปัจจุบันของต้นทุนการผลิต ต้นทุนหลัก ๆ คือ แรงงาน วัตถุดิบ โสหุ้ย เมื่อรู้ต้นทุนแล้วทำให้เราสามารถหาข้อบกพร่องแล้วหาวิธีลดต้นทุน 2. วิเคราะห์และชี้ชัดหาสาเหตุของต้นทุนสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้านั้นๆ ไฟฟ้าใช้มากที่สุดในกระบวนการผลิตในส่วนไหนที่ใช้ไฟฟ้าแล้วสูญเปล่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ 3. เน้นการลดและควบคุมต้นทุนการผลิตในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ไร้ประสิทธิภาพ มีความสูญเปล่าสูงๆ และดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ 4. ประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหกรรม (IE Techniques) |